วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ภูมิอากาศของประเทศไทย

ภูมิอากาศของประเทศไทย                 ประเทศไทยมีที่ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 53 37/ ถึง 20 27/ เหนือและลองจิจูดที่ 93 22/ ถึง 105 37/ ตะวันออก ดังนั้นประเทศไทยจึงมีที่ตั้งอยู่ใน ซีกโลกเหนือทางด้าน ตะวันออกเฉียงใต้ของภาคพื้นทวีปยูเรเซีย (ระว่างทวีปยุโรปกับทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) โดยที่ทางเหนือของประเทศประกอบด้วย ภาคพื้นดินกว้างใหญ่ ส่วนทาง ตอนใต้และทางตะวันออกของประเทศจะเป็นภาคพื้นน้ำที่กว้างใหญ่เช่นเดียวกัน จากการที่ประเทศไทยมีที่ตั้งอยู่ระหว่างพื้นดินและ พื้นน้ำที่กว้างขวางนี้เอง จึงทำให้ประเทศไทย อยู่ใต้อิทธิพลของลมมรสุมฤดูร้อนที่พัดจากน้ำเข้าสู่ภาคพื้นทวีป และลมมรสุมฤดูหนาวที่พัดจากภาคพื้นทวีปลงสู่ทะเล อันเป็นผลให้ในช่วงฤดูร้อน ประเทศไทยจะมีสภาพ อากาศชุ่มชื้นและมีฝนตกชุกติดต่อกันโดยเฉลี่ยประมาณ 6 เดือน ส่วนในช่วงฤดูหนาวจะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม ฤดูหนาว จึงทำให้มีสภาพอากาศที่แห้งแล้งและหนาวเย็น แต่ว่าจะปรากฎอยู่เพียงระยะเวลาสั้น ๆ คือราว ๆ 3 เดือนเท่านั้น ส่วนระยะเวลาที่เหลืออีกประมาณ 3 เดือนจะเป็นช่วงที่อากาศร้อนและแห้งแล้งมาก
                อย่างไรก็ตามในช่วงผลัดเปลี่ยนฤดูของลมมรสุมที่พัดจะถือว่าเป็นระยะเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อมีระยะเวลาราว 1-2 สัปดาห์ ในช่วงเวลาดังกล่าว ทิศทางของลมที่ พัดจะ ไม่แน่นอน ถ้าหากลมมรสุมชนิดใดชนิดหนึ่งพัดแรงขึ้น อีกชนิดหนึ่งก็จะอ่อนกำลังลง ภูมิอากาศของประเทศไทยขึ้นอยู่กับระบบของที่พัดตามฤดูกาล 2 ชนิด คือ


         - ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ จะเริ่มประมาณกลางเดือนตุลาคมไปจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ แต่บางที่อาจจะเลยไปถึงเดือนมีนาคมได้ ลมนี้มีความสัมพันธ์กับ ฤดูหนาวใน ซีกโลกเหนือ คือพื้นดินของทวีปเอเชียมีความหนาวเย็น อุณหภูมิลดลงต่ำ มีความกดอากาศสูง ซึ่งศูนย์กลางอยู่ที่ไซบีเรีย ส่วนบริเวณทางใต้มีลักษณะ ตรงกันข้าม ทำให้เกิดลมพัด จากแผ่นดินสู่พื้นน้ำ เป็นลมหนาวแห้งแล้งพัดออกจากศูนย์กลาง ความกดอากาศสูง พัดมายังประเทศไทยทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ภาคกลาง ส่วนภาคใต้ฝั่งตะวันออก ลมนี้จะพัดผ่านอ่าวไทยจึงนำฝนมาตกด้วย 


         - ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ในฤดูร้อนของซีกโลกเหนือ บริเวณทวีปเอเชียเป็นแหล่งความร้อนระอุ อุณหภูมิสูง ความกดอากาศต่ำ ส่วนในบริเวณน่านน้ำมหาสมุทร แปซิฟิก และอินเดีย ไม่ร้อนเท่ามีความกดอากาศสูง ทำให้มีลมพัดจากบริเวณน่านน้ำสู่พื้นทวีป เป็นลมตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อพัดข้ามเส้นศูนย์สูตรลมจะเบี่ยงเบนไปทาง ขวามือ กลายเป็นลมตะวันออก เฉียงใต้ ลมนี้จะพัดตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมไปจนถึงเดือนกันยายน ส่วนภาคใต้ของประเทศไทยลมนี้จะไปสิ้นสุดราวกลางเดือนตุลาคม ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวเป็นฤดูฝนของ ประเทศไทย 


         -ลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ เป็นลมพัดประจำตลอดเวลา 3 เดือน จากเดือนกุมภาพันธ์-เดือนเมษายน เนื่องจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือถอยไปจากภาคใต้ จึงมีลมจากทาง ทิศใต้และตะวันออกเฉียงใต้พัดเข้ามาแทนที่ ลมนี้พัดมาจากความกดอากาศสูงในทะเลจีนใต้ เป็นลมที่ร้อนและชื้น ทำให้อุณหภูมิสูงโดยทั่วไป ในช่วงนี้ ภาคใต้จะมีฝนตกน้อยกว่าระยะอื่นของปี


                

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น